The
AI Innovators
Project 2023

Know AI, Build AI, and Use AI

> 400

Participants

> 80

Schools

+30

AI Specialists

+40

AI Innovators

+10

AI Projects

Project Brief
ที่มาของโครงการ

โดย คณะวิจัยของโครงการ

เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศทั่วโลก และยังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้ไปสู่รูปแบบของสังคมในโลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์กำลังเข้ามาแทนที่ทักษะหลายด้านของมนุษย์ และในขณะเดียวกัน โลกยุคใหม่ก็ต้องการทักษะใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับการต้องอยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้นการเข้าใจปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างถูกต้องและรู้เท่าทัน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเยาวชนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเยาวชนจำเป็นมีต้องมีความพร้อมและทักษะในการรับมือกับเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้สามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างราบรื่นในอนาคต

การวางรากฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เยาวชนสามารถเข้าใจในหลักการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ และสามารถนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น การเสริมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) รวมถึง การฝึกทำงานร่วมกันเป็นทีม ช่วยให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่มีความหลากหลาย และเกิดพลังความร่วมมือ ที่สามารถนำมาใช้สร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศษฐกิจ และสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล

โครงการนี้มีชื่อว่า "โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดเพื่อมุ่งสู่การเป็นนวัตกรด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมปลายหรือเทียบเท่า (The AI Innovators Project)" ซึ่งผู้ดำเนินโครงการเป็นกลุ่มนักวิจัยด้านคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก 9 มหาวิทยาลัยในพื้นที่เขตภาคเหนือ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเตรียมความพร้อม และสร้างโอกาสให้กับเยาวชนของประเทศได้รับความรู้และทักษะใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เยาวชนรู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์ และสามารถนำปัญญาประดิษฐ์มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไปในอนาคต


Project Scope
ขอบเขตของโครงการ

โดย คณะวิจัยของโครงการ

The AI Innovators Project เป็นโครงการย่อยที่ 2 ของแผนงานชื่อ Building Coders โดยได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)

ขอบเขตการให้บริการของโครงการนี้ได้ครอบคลุมจังหวัดซึ่งตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือและในเขตภาคกลางตอนบน รวม 18 จังหวัด อันได้แก่ แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, พะเยา, เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, น่าน, แพร่, ตาก, นครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, ชัยนาท และ อุทัยธานี

โดยนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องได้รับการรับรองจากสถานศึกษา โดยมีครูหรือบุคลากรของสถาบันการศึกษาของตนเองเป็นผู้รับรองและคอยกำกับติดตาม และทำการสมัครและเข้าร่วมกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยเครือข่ายที่กระจายตามภูมิภาคที่กำหนดไว้ดังนี้

# มหาวิทยาลัยเครือข่าย โรงเรียน/สถาบันในจังหวัดที่ต้องรับผิดชอบ
1 ราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก พิษณุโลก, สุโขทัย
2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก พิษณุโลก, ตาก
3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร กำแพงเพชร, พิจิตร
4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นครสวรรค์, ชัยนาท,อุทัยธานี
5 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน
6 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ลำปาง, ลำพูน, พะเยา
7 มหาวิทยาลัยราชภัฏชียงใหม่ เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, เชียงราย
8 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เพชรบูรณ์

Issues
ประเด็นสำคัญ

ประเด็นสำคัญที่ถูกตัั้งเป้าให้เป็นผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้ถูกกำหนดไว้เป็นระดับขั้น ดังต่อไปนี้

1. การเขียนโค้ดพื้นฐานด้วยภาษาโปรแกรม

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เยาวชนรู้จักและเข้าใจภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (โครงการได้กำหนดให้เป็นภาษา Python) รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม โดยเยาวชนสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อการแก้ปัญหาในระดับพื้นฐานได้

2. การเขียนโค้ดโดยใช้ Libraries ที่สำคัญ สำหรับการดำเนินการเฉพาะด้าน

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เยาวชนรู้จักและใช้งาน Libraries ที่สำคัญของภาษา Python เช่น ในด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือ การดำเนินการด้านจัดการข้อมูล หรือ การแสดงภาพ เป็นต้น เพื่อเป็นพื้นฐานของการเขียนโค้ดด้านปัญญาประดิษฐ์ต่อไป ตัวอย่างของไลบรารี่ ได้แก่ numpy, pandas และ matplotlib เป็นต้น

3. การรู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์ (AI Literacy)

วัตถุประสงค์: เพื่อให้เยาวชนเข้าใจที่มาและภาพรวมของปัญญาประดิษฐ์ การจำแนกประเภทของปัญญาประดิษฐ์ แนวคิดและวิธีการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ การวัดผลและประเมิลผลการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ต่อประเด็นทางสังคมและจริยธรรม

4. คณิตศาสตร์เชิงลึกสำหรับปัญญาประดิษฐ์

วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายถึงกลไกการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ โดยมีขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ พีชคณิตเชิงเส้น ความน่าจะเป็นและสถิติ แคลคูลัสเบื้องต้น และ การหาค่าที่เหมาะสม เป็นต้น

5. การเขียนโค้ดสำหรับการประยุกต์ด้านปัญญาประดิษฐ์

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาทักษะให้กับเยาวชนในด้านการเขียนโค้ดที่มุ่งเน้นในด้านการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ โดยการนำ Libraries หรือ Frameworks ที่เหมาะสมมาใช้งานเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการพัฒนาโครงการนวัตกรรม

6. การคิดเชิงออกแบบเพื่อการสร้างนวัตกรรม

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เพื่อการทำความเข้าใจผู้คน รวมถึงเข้าใจปัญหาของผู้คน สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม มีแนวคิดในการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ รู้วิธีการนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์มาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รู้วิธีการวางแผนการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ กระบวนการพัฒนานวัตกรรมที่มีคุณค่า

Roadmap
แผนการเดินทาง

โดย คณะวิจัยของโครงการ

เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมาย ตามแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ต่อไปนี้


Activities
กิจกรรมสำคัญต่างๆ และกำหนดการ

โดย คณะวิจัยของโครงการ

กิจกรรมต่างๆ ในโครงการ The AI Innovators 2023 ได้กำหนดไว้เบื้องต้นดังนี้

# กิจกรรม กำหนดการ
1 เปิดรับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการ (Online: https://research.sci.nu.ac.th/ai/)

ปิดรับสมัคร

14 มิ.ย. 2566 - 14 ก.ค. 2566
2 ปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ (ผ่าน Zoom)
18 ก.ค. 2566
3 เรียนเนื้อหาพื้นฐานผ่าน Online Platform
3.1 PowerClass
- Fundamental Mathematics for AI Innovators
3.2 Zoom Meeting (Live)
- Fundamental Coding for AI Innovators
18 ก.ค. 2566 - 8 ก.ย. 2566
4 เข้าร่วมกิจกรรมที่ ม.ภูมิภาค และสอบเพื่อคัดเลือกเข้าค่าย Bootcamp
4.1 กิจกรรมเสริมความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ ด้านปัญญาประดิษฐ์
- Natural Language of Passion โดย ดร.ปรัชญา บุญขวัญ
4.2 การทดสอบสมรรถนะทางวิชาการ เพื่อคัดเลือกเข้าสู่ค่าย Bootcamp
- Mathematics Competency Test
- Coding Competency Test
9 ก.ย. 2566
5 เข้าร่วมกิจกรรม AI Innovator Bootcamp ที่ ม.นเรศวร
5.1 Town Hall Meeting

5.2 Maths and Coding for AI


5.3 Design Thinking for Innovations


5.4 City Exploration and Cultural Study


5.5 Energy Problems and Smart GRID Technology


5.6 Project Brain Stroming


13 ต.ค. - 22 ต.ค. 2566
6 ทำกิจกรรม AI-Projects Hackathon


23 ต.ค. 2566 - 6 ม.ค. 2567
7 เข้าร่วม AI-Projects Exhibition and Contest (CodingERA)

13 ม.ค. 2567
เซนทัล พระราม 9, กทม.

Contact
ติดต่อสอบถาม

หากมีข้อคำถามหรือต้องการติดต่อเพื่อทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ สามารถติดต่อได้ที่บุคคลต่อไปนี้

Contact Person No.1 :

อาจารย์วุฒิพงษ์ เรือนทอง
(ผู้ประสานงานหลักของโครงการ)
wuttipongr@nu.ac.th

Contact Person No.2 :

น.ส.ประภัสสร สวัสดิ์มงคล
(ผู้ประสานงานด้านกิจกรรมโครงการ)
praphatsornsa@nu.ac.th

ที่อยู่: 99 หมู่ 9 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ถนน พิษณุโลก-นครสวรรค์ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

Project Team
คณะผู้ดำเนินโครงการ
คณะผู้ดำเนินโครงการเป็นอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาการคำนวณ การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ จากมหาวิทยาลัยทั้ง 9 สถาบันในเขตภาคเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่