Know AI, Build AI, and Use AI
โดย คณะวิจัยของโครงการ
เป็นที่ทราบกันดีว่าเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) มีความสำคัญอย่างมากในปัจจุบัน เพราะปัญญาประดิษฐ์สามารถสร้างผลกระทบอย่างมหาศาลต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของทุกประเทศทั่วโลก และยังเป็นแรงผลักดันที่สำคัญที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่อวิถีการดำเนินชีวิตของมนุษย์ให้ไปสู่รูปแบบของสังคมในโลกยุคใหม่ ปัญญาประดิษฐ์กำลังเข้ามาแทนที่ทักษะหลายด้านของมนุษย์ และในขณะเดียวกัน โลกยุคใหม่ก็ต้องการทักษะใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับการต้องอยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ ดังนั้นการเข้าใจปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ และการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้อย่างถูกต้องและรู้เท่าทัน จึงเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเยาวชนในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก เพราะเยาวชนจำเป็นมีต้องมีความพร้อมและทักษะในการรับมือกับเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้สามารถปรับตัว และอยู่ร่วมกับปัญญาประดิษฐ์ได้อย่างราบรื่นในอนาคต
การวางรากฐานความรู้ทางคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เยาวชนสามารถเข้าใจในหลักการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ และสามารถนำปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนั้น การเสริมกระบวนการคิดเชิงออกแบบ (Design Thinking) รวมถึง การฝึกทำงานร่วมกันเป็นทีม ช่วยให้เกิดไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ๆ ที่มีความหลากหลาย และเกิดพลังความร่วมมือ ที่สามารถนำมาใช้สร้างนวัตกรรมที่มีคุณค่าต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต เศษฐกิจ และสังคมได้อย่างมีประสิทธิผล
โครงการนี้มีชื่อว่า "โครงการพัฒนาศักยภาพเยาวชนด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดเพื่อมุ่งสู่การเป็นนวัตกรด้านปัญญาประดิษฐ์ สำหรับนักเรียนระดับมัธยมปลายหรือเทียบเท่า (The AI Innovators Project)" ซึ่งผู้ดำเนินโครงการเป็นกลุ่มนักวิจัยด้านคณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก 9 มหาวิทยาลัยในพื้นที่เขตภาคเหนือ ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องเตรียมความพร้อม และสร้างโอกาสให้กับเยาวชนของประเทศได้รับความรู้และทักษะใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เยาวชนรู้เท่าทันปัญญาประดิษฐ์ และสามารถนำปัญญาประดิษฐ์มาพัฒนาเป็นนวัตกรรมที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคมต่อไปในอนาคต
โดย คณะวิจัยของโครงการ
The AI Innovators Project เป็นโครงการย่อยที่ 2 ของแผนงานชื่อ Building Coders โดยได้รับการสนับสนุนทุนในการดำเนินงานจาก หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.)
ขอบเขตการให้บริการของโครงการนี้ได้ครอบคลุมจังหวัดซึ่งตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือและในเขตภาคกลางตอนบน รวม 18 จังหวัด อันได้แก่ แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, พะเยา, เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, น่าน, แพร่, ตาก, นครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, ชัยนาท และ อุทัยธานี
โดยนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการจะต้องได้รับการรับรองจากสถานศึกษา โดยมีครูหรือบุคลากรของสถาบันการศึกษาของตนเองเป็นผู้รับรองและคอยกำกับติดตาม และทำการสมัครและเข้าร่วมกิจกรรม ณ มหาวิทยาลัยเครือข่ายที่กระจายตามภูมิภาคที่กำหนดไว้ดังนี้
# | มหาวิทยาลัยเครือข่าย | โรงเรียน/สถาบันในจังหวัดที่ต้องรับผิดชอบ |
---|---|---|
1 | ราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก | พิษณุโลก, สุโขทัย |
2 | มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก | พิษณุโลก, ตาก |
3 | มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร | กำแพงเพชร, พิจิตร |
4 | มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ | นครสวรรค์, ชัยนาท,อุทัยธานี |
5 | มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ | อุตรดิตถ์, แพร่, น่าน |
6 | มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง | ลำปาง, ลำพูน, พะเยา |
7 | มหาวิทยาลัยราชภัฏชียงใหม่ | เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, เชียงราย |
8 | มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ | เพชรบูรณ์ |
ประเด็นสำคัญที่ถูกตัั้งเป้าให้เป็นผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้ถูกกำหนดไว้เป็นระดับขั้น ดังต่อไปนี้
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เยาวชนรู้จักและเข้าใจภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม (โครงการได้กำหนดให้เป็นภาษา Python) รวมถึงเครื่องมือที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม โดยเยาวชนสามารถเขียนโปรแกรมเพื่อการแก้ปัญหาในระดับพื้นฐานได้
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เยาวชนรู้จักและใช้งาน Libraries ที่สำคัญของภาษา Python เช่น ในด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือ การดำเนินการด้านจัดการข้อมูล หรือ การแสดงภาพ เป็นต้น เพื่อเป็นพื้นฐานของการเขียนโค้ดด้านปัญญาประดิษฐ์ต่อไป ตัวอย่างของไลบรารี่ ได้แก่ numpy, pandas และ matplotlib เป็นต้น
วัตถุประสงค์: เพื่อให้เยาวชนเข้าใจที่มาและภาพรวมของปัญญาประดิษฐ์ การจำแนกประเภทของปัญญาประดิษฐ์ แนวคิดและวิธีการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ การวัดผลและประเมิลผลการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ กรณีการใช้งานปัญญาประดิษฐ์ ผลกระทบของปัญญาประดิษฐ์ต่อประเด็นทางสังคมและจริยธรรม
วัตถุประสงค์: เพื่อสร้างความรู้และความเข้าใจให้กับเยาวชนที่เกี่ยวข้องกับหลักการ แนวคิดและทฤษฎีทางคณิตศาสตร์ที่อธิบายถึงกลไกการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ โดยมีขอบเขตเนื้อหา ได้แก่ พีชคณิตเชิงเส้น ความน่าจะเป็นและสถิติ แคลคูลัสเบื้องต้น และ การหาค่าที่เหมาะสม เป็นต้น
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาทักษะให้กับเยาวชนในด้านการเขียนโค้ดที่มุ่งเน้นในด้านการประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์ โดยการนำ Libraries หรือ Frameworks ที่เหมาะสมมาใช้งานเพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการพัฒนาโครงการนวัตกรรม
วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาเยาวชนให้มีทักษะด้านการคิดวิเคราะห์เพื่อการทำความเข้าใจผู้คน รวมถึงเข้าใจปัญหาของผู้คน สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม มีแนวคิดในการแก้ปัญหาที่สร้างสรรค์ รู้วิธีการนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์มาใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รู้วิธีการวางแผนการทำงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ และ กระบวนการพัฒนานวัตกรรมที่มีคุณค่า
โดย คณะวิจัยของโครงการ
เยาวชนผู้เข้าร่วมโครงการจะได้เดินทางไปสู่เป้าหมาย ตามแผนกิจกรรมที่กำหนดไว้ต่อไปนี้
โดย คณะวิจัยของโครงการ
กิจกรรมต่างๆ ในโครงการ The AI Innovators 2023 ได้กำหนดไว้เบื้องต้นดังนี้
# | กิจกรรม | กำหนดการ |
---|---|---|
1 | เปิดรับสมัครเยาวชนเข้าร่วมโครงการ (Online: https://research.sci.nu.ac.th/ai/) ปิดรับสมัคร |
14 มิ.ย. 2566 - 14 ก.ค. 2566 |
2 | ปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ (ผ่าน Zoom) ![]() |
18 ก.ค. 2566 |
3 | เรียนเนื้อหาพื้นฐานผ่าน Online Platform 3.1 PowerClass - Fundamental Mathematics for AI Innovators ![]() 3.2 Zoom Meeting (Live) - Fundamental Coding for AI Innovators ![]() |
18 ก.ค. 2566 - 8 ก.ย. 2566 |
4 | เข้าร่วมกิจกรรมที่ ม.ภูมิภาค และสอบเพื่อคัดเลือกเข้าค่าย Bootcamp 4.1 กิจกรรมเสริมความรู้ สร้างแรงบันดาลใจ ด้านปัญญาประดิษฐ์ - Natural Language of Passion โดย ดร.ปรัชญา บุญขวัญ ![]() 4.2 การทดสอบสมรรถนะทางวิชาการ เพื่อคัดเลือกเข้าสู่ค่าย Bootcamp - Mathematics Competency Test ![]() - Coding Competency Test ![]() |
9 ก.ย. 2566 |
5 | เข้าร่วมกิจกรรม AI Innovator Bootcamp ที่ ม.นเรศวร 5.1 Town Hall Meeting ![]() 5.2 Maths and Coding for AI ![]() ![]() 5.3 Design Thinking for Innovations ![]() ![]() 5.4 City Exploration and Cultural Study ![]() ![]() 5.5 Energy Problems and Smart GRID Technology ![]() ![]() 5.6 Project Brain Stroming ![]() ![]() |
13 ต.ค. - 22 ต.ค. 2566 |
6 | ทำกิจกรรม AI-Projects Hackathon ![]() ![]() |
23 ต.ค. 2566 - 6 ม.ค. 2567 |
7 | เข้าร่วม AI-Projects Exhibition and Contest (CodingERA)![]() |
13 ม.ค. 2567 เซนทัล พระราม 9, กทม. |
หากมีข้อคำถามหรือต้องการติดต่อเพื่อทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ สามารถติดต่อได้ที่บุคคลต่อไปนี้
อาจารย์วุฒิพงษ์ เรือนทอง
(ผู้ประสานงานหลักของโครงการ)
wuttipongr@nu.ac.th
น.ส.ประภัสสร สวัสดิ์มงคล
(ผู้ประสานงานด้านกิจกรรมโครงการ)
praphatsornsa@nu.ac.th
ที่อยู่: 99 หมู่ 9 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
ถนน พิษณุโลก-นครสวรรค์ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000