เกี่ยวกับโครงการ

The AI Innovators Project เป็นโครงการสำหรับครูและนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อการให้องค์ความรู้ทั้งด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ ร่วมกับ การสร้างแนวคิดเชิงนวัตกรรม สร้างแรงบันดาลใจ เพื่อการบ่มเพาะเยาวชน ให้มุ่งสู่การเป็นนวัตกรที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์ เพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศต่อไปในอนาคต

ขอบเขตความรับผิดชอบ

The AI Innovators Project เป็นโครงการย่อยของแผนงานชื่อ โครงการพัฒนาเยาวชนนักเขียนโค้ดสมรรถนะสูงสาหรับภาคอุตสาหกรรมผ่าน (Advanced Builders of Coding Solutions Hub) หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และมีขอบเขตการให้บริการครอบคลุมจังหวัดซึ่งตั้งอยู่ในเขตภาคเหนือ และในเขตภาคกลางตอนบน รวม 18 จังหวัด อันได้แก่ แม่ฮ่องสอน, เชียงราย, พะเยา, เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, น่าน, แพร่, ตาก, นครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, ชัยนาท และ อุทัยธานี

กิจกรรมในโครงการ

กิจกรรมหลักในโครงการ The AI Innovators ประกอบด้วย

  1. อบรมความรู้พื้นฐานด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ดผ่าน Online Platform
  2. เข้าร่วมกิจกรรมที่ศูนย์มหาวิทยาลัยเครือข่าย
  3. ทดสอบสมรรถนะด้านคณิตศาสตร์และการเขียนโค้ด
  4. เข้าอบรมในค่าย AI Innovators Bootcamp
  5. ทำโครงการ AI Projects Hackathon
  6. ประกวดผลงาน AI Projects Contest

ผู้ดำเนินโครงการ

ผู้ดำเนินโครงการ เป็นคณะอาจารย์และนักวิจัยที่มีประสบการณ์ด้าน คณิตศาสตร์ วิทยาการคำนวณ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และปัญญาประดิษฐ์ จากมหาวิทยาลัยทั้ง 10 สถาบัน ในเขตภาคเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยนเรศวร มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนาพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดังต่อไปนี้

ศ.ดร.นรินทร์ เพชร์โรจน์
หัวหน้าโครงการ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
อาจารย์วุฒิพงษ์ เรือนทอง
ผู้ประสานงานโครงการ
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ดร.วัชรพงษ์ อนรรฆเมธี
ผู้รับผิดชอบด้านคณิตศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เตมีย์
ผู้รับผิดชอบด้านปัญญาประดิษฐ์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
ผศ.ดร.ชุติพนธ์ ศรีสวัสดิ์
ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
ผศ.ดร.ภูมินทร์ ตันอุตม์
ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
ผศ.ชม ปานตา
ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ดร.ปิยะพงษ์ วงค์ขันแก้ว
ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเครือข่าย
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก
ผศ.ดร.ศราวุธ สุวรรณอัตถ์
ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
อาจารย์ประธาน คำจินะ
ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
รศ.ดร.อิสระ อินจันทร์
ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์
ดร.ณัฐพล ปักการะนัง
ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
ดร. ธนายุทธ ช่างเรือนงาม
ผู้ประสานงานของมหาวิทยาลัยเครือข่าย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย

เนื้อหาการอบรมของโครงการ

คณิตศาสตร์สำหรับปัญญาประดิษฐ์

คณิตศาสตร์จะช่วยสร้างความเข้าใจในเชิงลึกเกี่ยวกับ หลักการทำงานของปัญญาประดิษฐ์ ซึ่ง การเข้าใจหลักการ จะช่วยให้นักพัฒนาสามารถปรับแต่ง และเพิ่มประสิทธิภาพของปัญญาประดิษฐ์ได้ โดยคณิตศาสตร์ที่จะต้องศึกษา ได้แก่ พีชคณิตเชิงเส้น ความน่าจะเป็นและสถิติ แคลคูลัสเบื้องต้น และ การหาค่าที่เหมาะสม เป็นต้น

การเขียนโค้ดพื้นฐานด้วยภาษา Python

ภาษา Python เป็นภาษาโปรแกรมที่นิยมใช้ในงานด้าน AI/Machine Learning ดังนั้นการมีพื้นฐานการเขียนโปรแกรมที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการต่อยอดไปสู่การพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ การอบรมจะเน้นในเรื่องของการเขียนคำสั่งเพื่อการแก้ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ในระดับพื้นฐาน

ไลบรารี่พื้นฐานสำหรับการเขียนโค้ดด้านปัญญาประดิษฐ์

การใช้งานไลบรารี่ (Library) ช่วยให้การแก้ปัญหาด้านการเขียนโค้ดง่ายขึ้น ซึ่งไลบรารี่ในภาษา Python มีหลายชนิด ที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้งานได้หลายวัตถุประสงค์ เช่น ด้านการคำนวณทางคณิตศาสตร์ หรือ ด้านการจัดการข้อมูล หรือ ด้านการแสดงผลกราฟ เป็นต้น การใช้งานไลบรารี่เหล่านี้ ช่วยให้การเขียนโค้ดด้านปัญญาประดิษฐ์มีความสะดวกและมีประสิทธิภาพ ตัวอย่างของไลบรารี่ ได้แก่ numpy, pandas และ matplotlib เป็นต้น

การเขียนโค้ดเพื่อประยุกต์ใช้งานปัญญาประดิษฐ์

มุ่งเน้นการสร้าง Applications เพื่อการนำมาใช้งาน โดยการใช้ Libraries หรือ Frameworks หรือ Platforms ด้านปัญญาประดิษฐ์ที่เหมาะสม เช่น scikit-learn, Keras, Pytorch หรือ Hugging Face เป็นต้น เพื่อให้เกิดความสะดวก รวดเร็ว ในการพัฒนาโครงการนวัตกรรม

การคิดเชิงออกแบบเพื่อการสร้างนวัตกรรม

พัฒนาทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ การทำความเข้าใจผู้คน เข้าใจปัญหาของผู้คน สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีม สามารถแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ รู้วิธีการนำเทคโนโลยีด้านปัญญาประดิษฐ์มาประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม รู้วิธีการวางแผนเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และ สามารถทำโครงการนวัตกรรมได้อย่างมีกระบวนการที่เป็นระบบ

เนื้อหาที่ใช้ในการสอบคัดเลือกเข้าค่าย

1. สอบสมรรถนะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์

  1. - ตรรกะศาสตร์
  2. - ความสัมพันธ์และฟังก์ชัน
  3. - แคลคูลัสเบื้องต้น
  4. - สถิติ

2. สอบสมรรถนะพื้นฐานด้านการเขียนโค้ด Python

  1. Basic Coding and IDE
  2. Data, Data Type and Variables
  3. Operators and Expressions
  4. Input/Outout
  5. Control Commands
  6. Data Collections (List,Tupple, Set, Dictionary)
  7. Functions

แผนและกำหนดการ

# กิจกรรม กำหนดการ
1 เปิดรับสมัครลงทะเบียนขอเข้าร่วมโครงการ 24 มิ.ย. - 2 ก.ค. 2567
2 ปฐมนิเทศผู้เข้าร่วมโครงการ 9 ก.ค. 2567
3 อบรมเนื้อหาพื้นฐานผ่าน Online 12 ก.ค. - 6 ก.ย. 2567
4 เข้าร่วมกิจกรรมและสอบเพื่อคัดเลือกเข้าค่าย ที่ ม.ภูมิภาค 7 ก.ย. 2567
5 เข้าร่วมกิจกรรม AI Innovator Bootcamp ที่ ม.นเรศวร 20 ต.ค. - 27 ต.ค. 2567
6 ทำกิจกรรม AI-Projects Hackathon 28 ต.ค. - 30 พ.ย. 2567
7 ประกวดโครงการนวัตกรรม AI-Projects Contest --- จะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง ---

ข้อมูลติดต่อ

# มหาวิทยาลัยศูนย์เครือข่าย ผู้ประสานงานศูนย์เครือข่าย
1 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก ผศ.ดร.ชุติพนธ์ ศรีสวัสดิ์
chutiphon@psru.ac.th
2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา พิษณุโลก ดร.ปิยะพงษ์ วงค์ขันแก้ว
piyapong_w@kkumail.com
3 มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ผศ.ดร.ภูมินทร์ ตันอุตม์
bhoomin_t@kpru.ac.th
4 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผศ.ชม ปานตา
chom.p@nsru.ac.th
5 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ รศ.ดร.อิสระ อินจันทร์
peissara@uru.ac.th
6 มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง ผศ.ดร.ศราวุธ สุวรรณอัตถ์
sarawut-suwan@hotmail.co.th
7 มหาวิทยาลัยราชภัฏชียงใหม่ อาจารย์ประธาน คำจินะ
prathan@g.cmru.ac.th
8 มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ดร.ณัฐพล ปักการะนัง
nuttapol.pakka@gmail.com
9 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ดร.ธนายุทธ ช่างเรือนงาม
thanayut.cha@crru.ac.th


หากมีข้อคำถามหรือต้องการติดต่อเพื่อทราบรายละเอียดเกี่ยวกับโครงการ สามารถติดต่อได้ที่บุคคลต่อไปนี้
Contact Person No.1 :

อาจารย์วุฒิพงษ์ เรือนทอง
(ผู้ประสานงานหลักของโครงการ)
wuttipongr@nu.ac.th
โทร. 055-963262 ถึง 3

Contact Person No.2 :

น.ส.ประภัสสร สวัสดิ์มงคล
(ผู้ประสานงานด้านกิจกรรมโครงการ)
praphatsornsa@nu.ac.th

ที่อยู่: 99 หมู่ 9 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ถนน พิษณุโลก-นครสวรรค์ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000